ปัจจุบันได้มีการพัฒนารักษาไวรัส รวมทั้งมีการใช้ยาหลายชนิดร่วมกันเพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตยาวขึ้น และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นผู้ที่ติดเชื้อ HIV ควรจะปรึกษาแพทย์เสียแต่เนิ่นๆ เพื่อวางแผนการรักษา ซึ่งเชื้อ HIV จะทำลายระบบภูมิคุ้มกันโดยเริ่มทำลายเซลล์ CD4 เมื่อภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็จะเกิดการติดเชื้อ และการรักษาโดยการให้ยาต้านไวรัสนั้นก็เป็นเพียงการหยุดหรือทำให้เชื้อไวรัสแบ่งตัวลดลงจนไม่อาจลุกลามกลายเป็นโรคเอดส์
ข้อมูลที่จะนำเสนอต่อไปนี้จะเป็นข้อมูลสำหรับผู้ป่วยเพื่อวางแผนในการรักษา
เลือกแพทย์และโรงพยาบาลที่รักษา
ปัจจัยข้อหนึ่งที่ทำให้การรักษาประสบผลสำเร็จคือแพทย์ผู้รักษาและโรงพยาบาล ทีมงานทางการแพทย์ตะต้องมีคุณภาพ และต้องเข้าใจปัญหาที่ผู้ป่วยกำลังประสบอยู่ทุกวัน อีกทั้งยังต้องวางแผนการรักษา ให้ความรู้เรื่องการป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อ และป้องกันผู้อื่นไม่ให้ได้รับเชื้อจากตัวผู้ป่วย
ผู้ที่ติดเชื้อมักจะมีปัญหาอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปัญหาทางด้านจิตใจ ปัญหาเรื่องยาเสพติด ปัญหาสุขภาพจิต และปัญหาสังคม ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถปรึกษากับทีมงานที่รักษาได้ ที่สำคัญคือต้องไว้ใจซึ่งกันและกัน
เข้าใจหลักการรักษา
เชื้อ HIV จะไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ซึ่งเชื้อนั้นจะถูกสร้างโดย CD4 Cell เมื่อเชื้อมีปริมาณมากเซลล์ CD4 Cell ก็จะต่ำ จึงควรเริ่มการรักษาก่อนที่ภูมิคุ้มกันจะถูกทำลาย
และนอกจากดูจำนวน CD4 Cell แล้วก็ยังต้องดู viral load หรือปริมาณเชื้อที่อยูในกระแสเลือดด้วย หากพบ viral load มาก เชื้อในร่างกายก็จะมาก อวัยวะก็จะถูกทำลายมากและเร็ว ที่สำคัญคืออาจเกิดการกลายพันธุ์ ซึ่งทำให้เชื้อดื้อยาได้ง่าย ดังนั้นเป้าหมายของการรักษาคือจะต้องทำให้ปริมาณเชื้อ (viral load) ในร่างกายมีน้อยที่สุด
การรักษาจะใช้ยาร่วมกันหลายชนิดเพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา โปรดจำไว้ว่าหากเกิดผลข้างเคียงจากยาที่ใช้รักษาอย่าหยุดยาชนิดใดชนิดหนึ่งโดยลำพัง ให้ปรึกษาแพทย์เสมอ เพราะอาจจะทำให้เชื้อดื้อยา
การเลือกใช้ยารักษา
การจะเลือกใช้ยารักษาขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
เมื่อไรถึงจะเริ่มรักษา
ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นเหมือนกันว่าจะเริ่มรักษาโรคต่อเมื่อผู้ป่วยมีอาการของโรคเอดส์ นั่นคือเซลล์ CD4 ลดลง และมีปริมาณเชื้อมาก (viral load) การรักษาผู้ป่วยจะแยกเป็นกรณีที่แตกต่างกันไป ดังเช่น
กรณีการรักษาผู้ป่วยหลังสัมผัสโรคติดเชื้อ HIV ( Post-Exposure Prophylaxis ) ควรทำภายใน 72 ชั่วโมง เช่น การที่เจ้าหน้าที่ถูกเข็มตำขณะทำงานโดยที่เข็มนั้นเปื้อนเลือดผู้ป่วย HIV… หลังสัมผัสเชื้อทันทีจะไม่สามารถใช้วิธีการเจาะเลือดหา viral load หรือ antigen หรือ antibody ได้ เพราะจะยังหาไม่พบ
การให้ยาแก่คนที่สัมผัสโรคจะสามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ แต่ในกรณีของผู้ที่ร่วมเพศกับผู้ที่ไม่ทราบว่าติดเชื้อ HIV หรือไม่ ยังไม่มีรายงานว่าจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากแค่ไหน ดังนั้นผู้ที่สัมผัสโรคต้องปรึกษากับแพทย์ก่อนว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนในการใช้ยา หากต้องใช้จะเป็นเวลานานแค่ไหน และผลข้างเคียงของยามีอะไรบ้าง
กรณี Primary Infection หมายถึง ภาวะตั้งแต่เริ่มได้รับเชื้อจนกระทั่งภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ HIV เพิ่มขึ้นจนสามารถตรวจพบได้ ช่วงระยะนี้มีเวลาประมาณ 12-20 สัปดาห์ หากพบผู้ป่วยในระยะนี้ต้องรีบให้การรักษาโดยเร็ว แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำว่าให้รับประทานตลอดชีวิต แต่บางท่านแนะนำให้รับประทานยา 24 เดือนแล้วลองหยุดยา
กรณี ผู้ที่ติดเชื้อ HIV โดยที่ไม่มีอาการ (Asymptomatic Patients with Established Infection ) การรักษาผู้ที่ติดเชื้อซึ่งไม่มีอาการยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าจะมีประโยชน์หรือไม่ เป็นต้น
การรักษา
ก่อนการรักษาผู้ป่วยจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อในหลายแง่มุม รวมทั้งการระยะและอาการของโรค การดื้อยา ผลข้างเคียงของยา ราคายา การติดเชื้อฉวยโอกาส และเมื่อตัดสินใจรักษาแล้ว แพทย์จะจ่ายยาที่คิดว่าดีที่สุดเพื่อป้องกันการดื้อยา ผู้ป่วยต้องให้คำมั่นสัญญาว่าจะรักษา เพราะการขาดยาแม้เพียงมื้อใดมื้อหนึ่ง ก็จะทำให้ระดับยาในเลือดลดลง ซึ่งทำให้เชื้อดื้อยาได้ ผู้ป่วยต้องปรึกษากับแพทย์ถึงราคายาเนื่องจากขณะนี้ราคายังแพงอยู่
เป้าหมายในการรักษา
เชื้อ HIV เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ การยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อ HIV จะทำให้เชื้อหยุดหรือชะลอการดำเนินของโรคเอดส์ โดยมีเป้าหมายในการรักษาผู้ติดเชื้อ HIV ดังนี้
ข้อสำคัญคือผู้ที่ติดเชื้อ HIV สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในระยะยาวโดยที่ไม่เกิดอาการ ทั้งที่ยังไม่ได้รักษา ดังนั้นผู้ป่วยบางรายยังไม่จำเป็นต้องรีบรักษาก็ได้ อย่างไรก็ตามควรปรึกษาและอยู่ในความดูแลของแพทย์
การติดตามการรักษา
หลังการรักษาด้วยยาต้านไวรัส HIV เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นแพทย์อาจจะนัดตรวจทุก 3-6 เดือน เพื่อประเมินสิ่งต่อไปนี้
แหล่งข้อมูล: www.siamhealth.net
ส่วนใหญ่แล้ว การติดเชื้อเอชไอวีเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันและการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ซึ่งอาจไม่มีวิธีรักษาการติดเชื้อเอชไอวีให้หายได้ 100% แต่คุณสามารถป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยหรือลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ด้วยเคล็ดลับและเทคนิคต่างๆ ดังต่อไปนี้
หนึ่งในเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการต่อสู้กับเชื้อเอชไอวีที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือถุงยางอนามัยชาย ซึ่งมีวิธีการใช้งานที่ง่ายและหาซื้อได้ในราคาถูก ข้อดีคือถุงยางอนามัยมีรูปทรง ขนาด พื้นผิว และกลิ่นหลากหลายรูปแบบให้เลือก หากคุณหรือคู่ไม่ชอบถุงยางอนามัยประเภทใดก็สามารถเปลี่ยนไปลองใช้ประเภทอื่นได้
คำเตือน: ควรใช้ก่อนวันหมดอายุ หากเลยกำหนดวันหมดอายุให้ทิ้ง, อย่าเก็บถุงยางอนามัยให้โดนแสงแดด หรือในสถานที่ร้อนจัด / เย็นจัด
วิธีการใส่ถุงยางอนามัย:
วิธีการถอดถุงยางอนามัย:
ถุงยางอนามัยหญิง ที่เรียกว่า ถุงยางอนามัยแบบสอด (Insertive Condom) ได้รับการออกแบบเฉพาะสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ในช่องคลอด ทำจากโพลียูรีเทนที่ทำหน้าที่เหมือนซับหลวมๆ ภายในช่องคลอด แต่หากตัดสินใจใช้ถุงยางอนามัยผู้หญิงในการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักก็ควรตรวจสอบให้บ่อยครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าถุงยางอนามัยจะไม่ลื่นหลุดเข้าไปในลำไส้ตรง
*ถุงยางอนามัยชายเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
เคล็ดลับ: ไม่ควรใช้ถุงยางอนามัยชายและหญิงในเวลาเดียวกัน เพราะจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการลื่นหลุดหรือฉีกขาด
วิธีการใส่ถุงยางอนามัยแบบสอด:
วิธีการถอดถุงยางอนามัยแบบสอด:
หลังจากหลั่งเรียบร้อย ให้บีบ และบิดวงแหวนภายนอกของถุงยางอนามัย จากนั้นจึงนำออกจากช่องคลอดก่อนที่จะลุกขึ้นยืน โดยระมัดระวังไม่ให้มีการรั่วไหลของของเหลว (น้ำอสุจิ) ภายใน
ยาเพร็พ หรือ ยาต้านไวรัสก่อนการสัมผัส Pre- Exposure Prophylaxis (PrEP)
เป็นวิธีการป้องกันการติดเชื้อแบบใหม่สำหรับคนที่ไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวี เมื่อรับประทานอย่างต่อเนื่อง ยาเพร็พช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิงที่มีภาวะเสี่ยงสูงมากต่อการติดเชื้อเอชไอวีผ่านการมีเพศสัมพันธ์หรือการใช้เข็มฉีดยา
ยาเป๊ป หรือ ยาต้านไวรัสหลังการสัมผัส Post-Exposure Prophylaxis (PEP)
เป็นยาต้านเชื้อที่ช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อเอชไอวีก่อนที่ตัวเชื้อจะกระจายตัวในร่างกาย ตัวยาประกอบด้วยยาต้านไวรัส 2-3 ชนิด ควรรับประทานอย่างเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้หลังจากที่คุณได้รับเชื้อเอชไอวี (เพื่อให้มีประสิทธิภาพควรเริ่มทานภายใน 72 ชั่วโมงหลังได้รับเชื้อ) และควรจะรับประทานให้ครบ 28 วัน
เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เมื่อมีการฉีดยาก็ควรใช้เข็มใหม่และแท่นเจาะที่สะอาดทุกครั้ง หลังจากที่คุณใช้เข็มฉีดยาแล้ว ควรจัดเก็บในภาชนะที่ปิดสนิท เช่น ขวดน้ำพลาสติก เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวคุณหรือผู้อื่นได้สัมผัสและรับบาดเจ็บ
แหล่งข้อมูล: www.hivcl.org, www.plannedparenthood.org, www.cdc.gov
HIV แพร่กระจายโดยการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้นการใช้ถุงยางอนามัย (condom) เป็นสิ่งจำเป็นมากในการช่วยป้องกันโรคเอดส์ และยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้อีกด้วย ดังนั้นการไม่ใช้ถุงยางอนามัย จึงทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อสูง
กิจกรรมดังต่อไปนี้ไม่ทำให้ติด HIV
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่า กิจวัตรประจำวันดังกล่าวไม่ทำให้คุณติดเชื้อ HIV ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัวการอยู่ร่วมกลุ่มกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ และไม่จำเป็นต้องกีดกันพวกเขาออกจากสังคม
แหล่งข้อมูล: http://www.migesplus.ch
เอชไอวี ย่อมาจาก Human Immunodeficiency Virus เป็นไวรัสสาเหตุของ ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือโรคเอดส์ ในปีพ.ศ. 2552 ยูเอ็นเอดส์ได้สำรวจพบว่า มีประชากรมากกว่าครึ่งล้านในประเทศไทยที่มีเชื้อเอชไอวี และ 28,000 คนที่เสียชีวิตจากโรคเอดส์ เชื้อเอชไอวี คือไวรัสที่เข้าไปทำลายเซลส์เม็ดเลือดที่จำเป็นของร่างกายในการเป็นปราการต่อสู้กับโรคต่างๆ (หรือที่เรียกว่า ซีดีสี่ CD4) ทำให้ระบบภูมิต้านทานล้มเหลว และทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน
เชื้อเอชไอวี สามารถติดต่อได้
การตรวจเลือด คือวิธีการหาเชื้อเอชไอวีในร่างกาย ซึ่งเมื่อตรวจพบแล้ว จะมีค่าเป็นเลือดบวก แม้ว่าทุกวันนี้ จะยังไม่มีการรักษาให้เชื้อเอชไอวีหมดไปได้ แต่ว่าเราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างยืนยาว เช่นเดียวกับคนที่ไม่มีเชื้อ ด้วยการรับประทานยาต้านไวรัส และดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง
“ถ้ารู้เร็ว ก็รักษาได้เร็ว” การตรวจและรักษาอย่างเนิ่นๆ นั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดูแลร่างกายและชีวิต.
เอดส์ (AIDS) ย่อมาจาก Acquired Immune Deficiency Syndrome คือ กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นเพราะร่างกายได้รับเชื้อไวรัส เอชไอวี ซึ่งไวรัสจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาวของร่างกาย ทำให้เม็ดเลือดขาวชนิด ซีดี 4 ลดน้อยลง จึงง่ายต่อการที่จะถูกเชื้อโรคต่างๆ โจมตี เพราะภูมิต้านทานน้อยลง ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ
ในกรณีที่ได้รับเชื้อเอชไอวีแล้ว ร่างกายของเราจะพยายามต่อสู้กับเชื้อนั้น ด้วยการสร้างแอนติบอดีขึ้นมา ดังนั้น การตรวจเลือดคือการหาแอนติบอดีเหล่านั้นในเลือด และถ้าเรามีนั่นก็คือ เราได้รับเชื้อเอชไอวีแล้ว หรือที่เราเรียกว่า มีเลือดบวก (HIV-Positive) ทว่า คนที่สัมผัสเชื้อเอชไอวีก็ไม่ได้จำเป็นว่าจะต้องติดเชื้อเสมอไป ขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อ ภมูิต้านทานของผู้สัมผัส และปัจจัยอื่นๆ ที่ยังไม่ทราบชัด
การมีเชื้อเอชไอวีในร่างกายนั้น ไม่ใช่การเป็นโรคเอดส์อย่างที่หลายคนเข้าใจ มีบุคคลมากมายที่มีเชื้อเอชไอวีแต่ยังแข็งแรงดี ทว่า เชื้อเหล่านี้จะค่อยๆ เข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของเราให้เหลือน้อยลง จึงส่งผลให้เมื่อเชื้อไวรัส เชื้อรา และแบคทีเรียทั้งหลาย ก็สามารถมาทำให้เราเจ็บป่วยได้ หรือที่เราเรียกว่า เกิดโรคฉวยโอกาศนั่นเอง
แหล่งที่มา: www.aids.org
เมื่อเร็วๆ นี้ สภากาชาดไทย แถลงข่าวโครงการลดการติดเอดส์ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และสาวประเภทสอง พร้อมให้ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการติดต่อรับยาต้านไวรัสเอดส์ก่อนการสัมผัสเชื้อ หรือเพร็ป (PrEP) ซึ่งส่วนกลางรับได้ที่ศูนย์สุขภาพชุมชนของสมาคมฟ้าสีรุ่งที่กรุงเทพฯ หรือ สอบถามเพิ่มเติม โทร.0 2253 0996 ในเวลาราชการ
สำหรับกลุ่มเป้าหมายการใช้ยาตัวดังกล่าวคงพอทราบแล้วว่ายาต้านไวรัสตัวนี้คืออะไร ใช้เมื่อใด แต่กับบุคคลทั่วไปเชื่อว่าอาจยังสับสน วันนี้ mars จึงทำข้อมูลพอสังเขปให้เข้าใจง่ายขึ้น
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า โดยทั่วไปเราจะคุ้นชินกับการเห็นคนรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดแผง 28 เม็ด ทุกวัน ต่อมามีการพัฒนาเป็นยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน คือ รับประทานหลังมีกิจกรรมร่วมกัน 1 เม็ดทันที และอีก 1 เม็ด ภายใน 12 ชั่วโมง ซึ่งเหตุผลการใช้ต่างกัน และคนละเรื่องกับ ‘PrEP’ หรือ ‘PEP’ อย่างสิ้นเชิง
PrEP (PreExposure Prophylaxis) หรือ PEP (Post -Exposure Prophylaxis) คือ ยาต้านไวรัส HIV ในกลุ่มเสี่ยง เช่น กลุ่มรักร่วมเพศ แพทย์ พยาบาล ที่อาจจำเป็นต้องรับประทานยาชนิดนี้ประจำวันเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือกรณีสัมผัสกับผู้ติดเชื้อไปแล้วภายใน 72 ชั่วโมง ก็ยังสามารถรับประทานเพื่อป้องกันได้
แม้ยาชนิดนี้มีชื่อเรียก 2 แบบ ตามลักษณะของเวลาในการรับประทาน แต่เนื้อยาคือตัวเดียวกัน โดยผลข้างเคียงของมันอาจเกิดขึ้นได้คือ อาการท้องเสีย ปวดหัว คลื่นไส้ และอาเจียน เป็นต้น
ขอบคุณข่าวสารจาก http://www.manager.co.th