สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ขอส่งข่าว สคบ. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เดือนมิถุนายน 2568
ยา Dolutegravir เป็นยาต้านเชื้อเอชไอวี ในกลุ่ม Integrase inhibitor ออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการรวมรหัสพันธุกรรมของไวรัสเข้ากับรหัสพันธุกรรมของเซลล์เม็ดเลือดขาวในมนุษย์ ( Integrase) ใช้ได้สำหรับ เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป และผู้ใหญ่
ในการต้านเชื้อเอชไอวีจำเป็นต้องใช้ยาหลายตัวผสมกัน ไม่สามารถใช้เพียงตัวเดียวได้ ซึ่ง จะต้องมียาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งไวรัสในกลไกที่ต่างกัน ตัวอย่างเช่น
แนวทางการรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของประเทศไทยปี 2564/2565 แนะนำให้ใช้สูตรยาที่มีหนึ่งในนั้นเป็น Dolutegravir เป็นส่วนประกอบสำหรับทั้งป้องกันเอชไอวี และรักษาผู้มีเชื้อเอชไอวี
ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ยาที่ใช้ มีหลากหลาย ได้แก่
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ของ Dolutegravir ที่มีในประเทศไทย ได้แก่
ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับยา Dolutegravir
แหล่งอ้างอิง
วิธีการ
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการทดลองทางคลินิกแบบสุ่มและปกปิดสองชั้น (Randomized double-blind clinical trial) โดยมีผู้ป่วย 30 คนที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่แม้ระดับไวรัสจะถูกกดแล้ว แต่ยังมีภาวะล้มเหลวทางภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มเท่าๆ กัน กลุ่ม A ได้รับยาหลอก กลุ่มB ได้รับแคปซูลโปรไบโอติก 2 แคปซูลต่อวัน โดยมีจำนวนโคโลนี 10⁹ CFU ต่อแคปซูลซึ่งมีเชื้อจุลินทรีย์ 7 สายพันธุ์ หลังจาก 3 เดือน ได้ทำการตรวจสอบจำนวน CD4+ โดยวิธีโฟลไซโตเมทรี และหลังจากช่วงเวลาล้างยาหนึ่งเดือน ทำการทดลองสลับกันโดย ผู้เข้าร่วมที่เคยได้รับโปรไบโอติกได้รับยาหลอก และผู้เข้าร่วมที่เคยได้รับยาหลอกก็ได้รับโปรไบโอติกเป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นพวกเขาได้รับการตรวจสอบจำนวน CD4+ 7 เดือนหลังจากเริ่มการศึกษา
ผลลัพธ์
ในกลุ่มแรก (A) การให้ยาหลอกส่งผลให้จำนวน CD4 ลดลงในช่วง 3 เดือนแรก (จาก 202.21 เป็น 181.79, ค่า p < .001) ซึ่งอาจเกิดจากลักษณะการดำเนินของโรค หลังจากการให้โปรไบโอติก จำนวน CD4 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (จาก 181.79 เป็น 243.86, ค่า p < .001) โดยรวมแล้ว หลังจากการศึกษา 7 เดือน มีการเพิ่มขึ้นของค่าเฉลี่ย CD4 อย่างมีนัยสำคัญจาก 202.21 เป็น 243.86 (ค่า p < .001)
ในกลุ่มที่สอง (B) การให้โปรไบโอติกในช่วง 3 เดือนแรกของการศึกษา ส่งผลให้ค่าเฉลี่ย CD4 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (จาก 126.45 เป็น 175.73, ค่า p < .001) เมื่อหยุดให้โปรไบโอติกส่งผลให้จำนวน CD4 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (จาก 175.73 เป็น 138.9, ค่า p < .001) แต่โดยรวมแล้วจำนวน CD4 เมื่อสิ้นสุดการศึกษายังคงสูงกว่าระดับเริ่มต้นอย่างมีนัยสำคัญ (ค่า p < .001)
สรุปผลการศึกษา
การใช้โปรไบโอติกเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารและปรับปรุงภูมิคุ้มกันของเนื้อเยื่อเกี่ยวข้องกับลำไส้ในผู้ติดเชื้อ HIV โดยการปรับฟังก์ชันของเกราะป้องกันเยื่อบุผิวและองค์ประกอบของ Microbiota สามารถนำไปสู่การเพิ่มจำนวนเซลล์ CD4+ ในผู้ป่วย HIV ที่มีความล้มเหลวทางภูมิคุ้มกัน การให้โปรไบโอติกทุกวันในขนาดที่เหมาะสม (สองแคปซูลที่มีจำนวนโคโลนี 10⁹ CFU ในการศึกษาของเรา) แก่ผู้ป่วย HIV ที่ยากดเชื้อได้แต่ภูมิคุ้มกันยังต่ำ ส่งผลให้จำนวนเซลล์ CD4+ เพิ่มขึ้นชั่วคราว
ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก
เช็คก่อนตรวจ
วันที่ทั่วโลกปราศจากการตีตราอันเนื่องมาจากเอชไอวี (Zero HIV Stigma Day)
“Human First” เป็นหัวข้อรณรงค์ วันที่ทั่วโลกปราศจากการตีตราอันเนื่องมาจากเอชไอวีในปี 2023 เพื่อเน้นย้ำมิติความเป็นมนุษย์ของผู้ที่มีเอชไอวีและได้รับผลกระทบจากเอชไอวี ที่ควรได้รับสิทธิความเป็นมนุษย์เฉกเช่นมนุษย์ทุกคน ให้เห็นมนุษย์ ไม่ใช่เห็นแต่ไวรัส และการเลือกปฏิบัติใดๆ ต่อผู้มีเอชไอวีควรถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ข้อเสนอเพื่อการขจัดการตีตราอันเนื่องมาจากเอชไอวี https://zerohivstigmaday.org/wp-content/uploads/2023/07/ZeroHIVStigmaDay_Toolkit.pdf
ความเป็นมา
วันที่ 21 กรกฎาคม ได้รับการเลือกและเสนอให้เป็นวันสร้างความตระหนักเรื่องการตีตราอันเนื่องมาจากเอชไอวี เพื่อเป็นเกียรติให้กับคุณ พรูเด็นซ์ โนบันตู มาเบเล่ (Prudence Nobantu Mabele) หญิงผิวดำชาวแอฟริกาใต้คนแรกที่แบ่งปันเรื่องสถานะการมีเอชไอวีให้กับสาธารณะรับรู้ เธอต่อสู้เพื่อสิทธิของผู้หญิงและเด็กที่อยู่ร่วมกับเอชไอวี และความรุนแรงทางเพศภาวะ คุณพรูเด็นซ์ เกิด 21 กรกฎาคม ปี 1971 ได้รับเอชไอวีปี 1990 พูดถึงสถานการณ์มีเอชไอวีของเธอในที่สาธารณะในปี 1992 และเสียชีวิตลงในวันที่ 10 กรกฎาคม ปี 2017 https://en.wikipedia.org/wiki/Prudence_Nobantu_Mabele
วันสร้างความตระหนักเรื่องทั่วโลกปราศจากการตีตราอันเนื่องมาจากเอชไอวี สร้างความเคลื่อนไหวไปทั่วโลก รวมผู้คน ชุมชน และประเทศทั้งหลายให้ตระหนักและลงมือปฏิบัติต่อการตีตราอันเนื่องมาจากเอชไอวี เพื่อนักกิจกรรมด้านเอชไอวีที่จากไปและเพื่อนักกิจกรรมทุกคนที่ยังคงต่อสู้กับเอชไอวีอย่างต่อเนื่อง
วันที่ทั่วโลกปราศจากการตีตราอันเนื่องมาจากเอชไอวี ริเริ่มในปี 2021 โดย 4 องค์กร
คัดลอกจากและนำเสนอเนื้อหาบางส่วนจาก บทความวิชาการเพื่อการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์
เรื่อง การใช้และความปลอดภัยของฮอร์โมนสาหรับเปลี่ยนกายภาพ ทางเพศในหญิงข้ามเพศ (Use and safety of hormone treatment for transforming physical sexual appearance in transgender women)
รศ. ดร. ภญ.จุราพร พงศ์เวชรักษ์
สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ความปลอดภัยของการได้รับฮอร์โมน ในหญิงข้ามเพศ
โรคหัวใจร่วมหลอดเลือด [6, 8, 9]
ในภาพรวม การศึกษาเชิงระบาดวิทยาชนิด retrospective cohort หลายการศึกษาในยุโรป ติดตามผลเป็นระยะเวลา 4 ปี จนถึงตลอดชีวิต พบว่าหญิงข้ามเพศ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจสูงกว่าหญิงทั่วไป ด้วยช่วงอัตราความเสี่ยง 1 ถึง 2.9 และมีอัตราการเสียชีวิตจากหัวใจขาดเลือด 1.64 เท่า (95%CI 1.43-1.87) เมื่อเทียบกับประชากรทั่วไป และเพิ่มขึ้นเป็น 3.12 (95% CI, 1.28–7.63) ในกลุ่มที่ได้รับ ethinyl estradiol 100 ไมโครกรัมต่อวัน ร่วมกับ CPA 100 มิลลิกรัมต่อวัน เปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้ฮอร์โมนหรือเคยได้รับ [18-19] ซึ่งในปัจจุบัน ethinyl estradiol ไม่มีที่ใช้ในหญิงข้ามเพศอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดที่เพิ่มขึ้น อาจเป็นผลจากปัจจัยเสี่ยงอื่นที่ทราบกันดีอยู่แล้วได้แก่ ดัชนีมวลกายที่สูง สูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูงและการดารงชีวิตที่ไม่มีการออกแรงกาย อายุเมื่อเริ่มการใช้ฮอร์โมนเพื่อเปลี่ยนสภาพเพศ ก็มีความสาคัญต่อระยะเวลาของการมีปัจจัยเสี่ยง อย่างไรก็ตาม พบว่าหญิงข้ามเพศที่ได้รับฮอร์โมน มีระดับไขมันที่ดี คือ มีระดับ HDL-C เพิ่มขึ้นและระดับ LDL-C ลดลง [15, 19] เมื่อพิจารณาจากข้อจากัดของรูปการศึกษาที่เป็นข้อมูลย้อนหลังและเป็นกลุ่มประชากรยุโรป ยังไม่อาจสรุปได้ว่าหญิงข้ามเพศที่ได้รับฮอร์โมนมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดสูงกว่าหญิงทั่วไป และไม่อาจนามาคาดการณ์กับหญิงข้ามเพศไทยได้
การเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตันหรือภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ พบว่าการศึกษาให้ผลที่ไม่สอดคล้องกัน ซึ่งอาจเนื่องจากรูปแบบการศึกษาที่แตกต่างกัน มีทั้งการศึกษาชนิด cross-sectional และการศึกษาชนิด retrospective cohort จึงทาให้การรายงานผลมีทั้งอัตราความชุก/อุบัติการณ์ และอัตราเสี่ยง รวมถึงกลุ่มเปรียบเทียบมีทั้งชายและหญิงทั่วไป [18]
ดังนั้นอุบัติการณ์ที่แท้จริงของเหตุการณ์ด้านหัวใจร่วมหลอดเลือดรวมถึงการเสียชีวิตจากสาเหตุดังกล่าว ยังต้องการการศึกษาที่มีกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่และติดตามไปข้างหน้าในระยะเวลาที่นานเพียงพอ ซึ่งในปัจจุบันนี้มีการศึกษาที่เป็นข้อมูล real world ในยุโรป กาลังดาเนินการอยู่ต่อเนื่อง [15]
ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ [6, 8, 9]
เป็นที่ทราบกันดีว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีคุณสมบัติก่อลิ่มเลือด ทาให้เพิ่มความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ ซึ่งขึ้นกับขนาดยา และปัจจัยบุคคลด้วย ได้แก่ อายุที่เพิ่มขึ้น ดัขนีมวลกายสูงกว่า 25 กก./ม.2 ปัจจัยทางพันธุกรรม ประวัติเคยเกิดลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำมาก่อน การศึกษาในหญิงข้ามเพศ หลังจากได้รับฮอร์โมนไป 2 และ 8 ปี มีความเสี่ยงต่ออุบัติการณ์ของลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำสูงกว่าบุคคลโดยทั่วไป โดยมี risk difference เมื่อเทียบกับเพศชายทั่วไป 4 (95% CI 1.6-6.7) และ 16.7 (6.4-27.5) และเมื่อเทียบกับเพศหญิงทั่วไป 3.4 (1.1-5.6) และ 13.7 (4.1-22.7) ตามลาดับ ระยะเวลาของการได้รับฮอร์โมนที่นานขึ้น การได้รับ CPA ร่วมและการได้รับเอสโตรเจนรูปแบบรับประทาน จะเพิ่มความเสี่ยง ในขณะที่รูปแบบแผ่นติดผิวหนังและเจลทาผิวหนังไม่มีผลเพิ่มความเสี่ยง ดังนั้นในหญิงข้ามเพศทุกรายที่มีปัจจัยเสี่ยง หรือในรายที่อายุ 40 ปีขึ้นไป จึงแนะนําให้ใช้เอสโตรเจนรูปแบบทางผิวหนัง
การทบทวนอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์ชนิดอภิมาน ที่ประกอบด้วยข้อมูลจาก 18 การศึกษา ในหญิงข้ามเพศกว่า 10000 คน พบอัตราความชุกของเหตุการณ์ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำรวมร้อยละ 2 และความชุกสูงขึ้นตามอายุและระยะเวลาที่ได้รับฮอร์โมน หญิงข้ามเพศที่อายุเฉลี่ยไม่เกิน 37 ปี หรือได้รับฮอร์โมนไม่เกินระยะเวลา 1 ปี ไม่พบความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญ [20]
มะเร็ง [6-9]
มะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นมะเร็งที่ไวต่อฮอร์โมน ข้อมูลย้อนหลังในกลุ่มหญิงข้ามเพศ ประเทศเนเธอร์แลนด์และสหรัฐอเมริกา ในระหว่างการได้รับฮอร์โมนต่อเนื่อง พบว่าอัตราของอุบัติการณ์มะเร็งเต้านมในหญิงข้ามเพศไม่ได้สูงกว่าหญิงทั่วไป แต่สูงกว่าผู้ชายทั่วไป ดังนั้นหญิงข้ามเพศจึงควรรับการคัดกรองเช่นเดียวกับหญิงทั่วไป มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน ในหญิงข้ามเพศที่ได้รับฮอร์โมนต้านแอนโดรเจน มีอัตราของอุบัติการณ์ต่ำากว่าในชายทั่วไป (incidence ratio 0.2, 95% CI 0.08-0.42)
กลุ่มที่ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนและยาต้านฮอร์โมนเพศชาย CPA มีรายงานความชุกของเนื้องอกต่อมใต้สมอง ชนิดที่สร้างฮอร์โมนโปรแลคติน (prolactinoma) และเนื้องอกของเยื่อหุ้มสมอง (meningioma) สูงขึ้น ซึ่งยังไม่ทราบเหตุผล
เอกสารอ้างอิง
6. Hembree WC, Cohen-Kettenis PT, Gooren L, Hannema SE, Meyer WJ, Murad MH, Rosenthal SM, Safer JD, Tangpricha V, T’Sjoen GG. Endocrine treatment of gender-dysphoric/gender-incongruent persons: an endocrine society clinical practice guideline. J Clin Endocrinol Metab 2017; 102(11): 3869–903. doi: 10.1210/jc.2017-01658.
พล, บรรณาธิการ. คู่มือการให้บริการสุขภาพคนข้ามเพศประเทศไทย.-พิมพ์ครั้งที่ 1.-กรุงเทพฯ : กันต์รพีเพรส จากัด. 2563. หน้า 27-44, 135-154.
Totaro M, Palazzi S, Castellini C, Parisi A, D’Amato F, Tienforti D, Baroni MG, Francavilla S, Barbonetti A. Risk of venous thromboembolism in transgender people undergoing hormone feminizing therapy: a prevalence meta-analysis and meta-regression study. Front Endocrinol 2021; 12: 741866. doi: 10.3389/fendo.2021.741866.